สรุปหนังสือฝึกสมองลูก 5 ปี ได้ดีตลอดชีวิต

สรุปหนังสือ ฝึกสมองลูก 5 ปี ได้ดีตลอดชีวิต โพสไว้ให้ตัวเองมาอ่านมีประโยชน์ต่อทุกคนที่กำลังมีลูกน้อย 0-5 ปี

สรุปหนังสือฝึกสมองลูก 5 ปี ได้ดีตลอดชีวิต

บทนำ

มาเล่นเกมหาสมบัติที่ซ่อนอยู่ในตัวเด็กกันเถอะ

ซึ่งเราต้องเริ่มจากการสร้างรากฐานสมอง ในช่วง 0-5 ปีเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดในการสร้างรากฐานสมองให้แข็งแรง สมองของมนุษย์จะพัฒนาไปได้ 80% ใน 3 ขวบแรก กลไลคือเราจะต้องทำให้เด็กหลั่งสารโดพามีนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยจะบอกวิธีกระบวนการทำให้หลั่งสารโดพามีนโดยละเอียด

บทที่ 1 การวัดผลจากการศึกษาแบบมาตราฐานนั้นใช้ไม่ได้ในระดับสากล

การมีรากฐานของสมองดี = การพัฒนาสมองให้เป็นสมองที่หลั่งโดพามีนได้ง่าย ตั้งแต่ยังเด็ก

มาตรฐานการศึกษาแบบเดิมๆเป็นสิ่งล้าสมัยท่องจำเรียนซ้ำจำเจ พ่อแม่ควรให้เด็กได้เรียนรู้ในการศึกษาแบบได้เจอสิ่งใหม่ๆ การหาสมบัติในช่วงปฐมวัย เพราะยากจึงสนุก จึงต้องทำให้เด็กเป็นเด็กฉลาด

เด็กฉลาดที่แท้จริงคือเด็กที่ค้นหาสิ่งที่อยากเรียนด้วยตนเองและจดจ่อต่อสิ่งนั้นได้

การจดจ่อต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เรียกว่ามีความหลงใหล ให้รู้ลึกรู้จริงในสิ่งนั้น เป็นที่ต้องการในระดับแนวหน้าของโลก ควรค้นหาสิ่งที่ลูกหลงใหลให้เจอใน 0-5 ขวบและให้เขาได้ลองทำ

ภาษาอังกฤษสำคัญควรสร้างสมองให้เหมาะสมต่อการเรียนภาษาอังกฤษได้ตั้งแต่ปฐมวัย

การพัฒนาความฉลาดที่แท้จริงต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม พยายามเชื่อลูกของตนเอง และความร่ำรวยของพ่อแม่ไม่เกี่ยวกับความฉลาดของลูก อย่าเอาบรรทัดฐานจากหนังสือมาวัดลูกของตน ให้เขาได้เรียนรู้สิ่งที่เขาอยากเรียนรู้ ถ้าอยากเรียนรู้อย่างแรงกล้าจะหาวิธีได้เรียนรู้จริงๆได้ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ร่ำรวย เช่น หาผู้สนับสนุน ทุนต่างๆ

บทที่ 2 วิธีการพัฒนาวงจรการหลั่งโดพามีนซึ่งจะมีประโยชน์ตลอดชีวิต

นั่นคือให้ลูกได้เล่นแบบมี "การเปลี่ยนแปลง" สมองของเด็กจะพัฒนาการหลั่งโดพามีนตามเวลาที่เด็กสนุกสนานกับการเปลี่ยนแปลงไม่จำเจ "การทำอะไรครั้งแรกคือโอกาส" เนื่องจากเป็นเรื่องที่ยังคาดเดาไม่ได้ เด็กจะสนใจสิ่งที่เป็นครั้งแรก ข้อควรระวังคือครั้งแรกแต่ต้องเป็นสิ่งที่อยู่ในระดับที่เหมาะสมด้วยเป็นกิจกรรมที่ทำได้สำเร็จและไม่ยากหรือง่ายจนเกินไป เมื่อทำได้ทำสำเร็จ สมองจะหลั่งโดพามีนและก็อยากทำอีกและสำเร็จอีก ก็กระตือรือร้นมากขึ้น ที่นี้สมองก็จะพัฒนาได้อย่างรวดเร็วแบบติดจรวด

เราสามารถกำหนดความสำเร็จไว้ในกิจกรรมนั้น พอสำเร็จเด็กก็จะสัมผัสได้ถึงความสำเร็จ พร้อมกับให้พ่อแม่ชม เช่น "เก่งจังเลย" สมองก็จะได้โดพามีนเพิ่มขึ้น การชมมีทั้งแบบ เงื่อนไขและไม่มีเงื่อนไข

  • แบบมีเงื่อนไข เช่น ทำกิจกรรมสำเร็จก็กล่าวชม เช่น "เก่งจังเลยที่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้จบ"
  • แบบไม่มีเงื่อนไข เช่น ลูกตื่นมาก็ชมลูกว่า "ลูกน่ารักจังเลย"

ปล่อยให้เขาได้ทำอย่างที่เขาอยากทำ ถ้าไม่เป็นอันตราย เช่น เด็กชอบเอาของเข้าปาก ถ้าเป็นของสะอาด ก็ปล่อยให้เขาได้ลองไม่ควรห้าม เขาจะได้เรียนรู้จากสิ่งที่เขาอยากทำ

การพัฒนาทางด้านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การมองเห็น การรับรส กลิ่น เสียง สัมผัส สำคัญอย่างมาก อย่าลืมครั้งแรกและถ้ามันเป็นอะไรที่น่าจดจำ เด็กจะพัฒนาสมองได้อย่างรวดเร็ว

เด็กผู้ชายจะฉลาดขึ้นด้วยกีฬา เด็กผู้หญิงจะฉลาดด้วยบทบาทสมมุติ

อย่างไรก็ตามควรใส่ใจความแตกต่างเป็นรายบุคคลด้วย เพราะเด็กผู้หญิงบางคนก็สามารถเล่นกีฬาและฉลาดขึ้นได้ เช่นเดียวกับเด็กผู้ชายที่เล่นบทบาทสมมุติและฉลาดขึ้นได้

บทที่ 3 วิธีที่ดีที่สุดที่จะสอนให้ลูกเป็นเด็กฉลาดอย่างแท้จริง

คือการเลี้ยงลูกแบบไม่มีถูกผิดหรือข้อบังคับ การเลี้ยงลูกไม่มีวิธีที่ถูกต้องตายตัวว่า "หากทำเช่นนี้จะได้ผลลัพธ์เช่นนี้" หนังสือเลี้ยงลูกก็มักจะบอกว่า "หากทำเช่นนี้จะเป็นเช่นนี้" "ตอนอายุเท่านี้ทำอะไรได้" ไม่ได้บอกว่าเป็นสิ่งที่ผิด แต่ทำให้พ่อแม่รู้สึกหนักใจว่าต้องให้ลูกทำได้ ซึ่งจริงๆเด็กมีพัฒนาการไม่เท่ากัน ให้ไปใส่ใจการหา "สมบัติ" ของลูกดีกว่า

ในระหว่างกิจกรรมต่างๆ ช่วงที่ลูกกำลังเงียบคือช่วงที่สมองกำลังพัฒนา แต่พ่อแม่ต้องช่วยให้ลูกก้าวผ่านความเงียบให้ได้ โดยทำให้เกิดการก้าวข้ามผ่านขีดกำจัดของความสนุก เด็กจะได้พบกับความรู้สึกประสบความสำเร็จว่า "เข้าใจแล้ว" เมื่อสำเร็จสมองจะหลั่งโดพามีน จะส่งผลให้ความสามารถของเด็กเติบโต

ยิ่งพัฒนา "ความสามารถในการแสดงออก" ความฉลาดยิ่งเพิ่มขึ้น

การเรียนที่ดี เท่ากับ การเรียนที่เกิดผลงาน

การพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้คือการฝึกความสามารถในการผลิตผลงาน หากเด็กใส่ใจผลงานตั้งแต่เล็ก เด็กจะใส่ใจข้อมูลตั้งต้นไปตามธรรมชาติ เมื่อมีข้อมูลและผลงานเท่ากันสมองจะพัฒนาโดยหลั่งโดพามีนได้ง่าย (Input = Output) เช่น เรียนการประดิษฐ์สิ่งของและประดิษฐ์สิ่งของได้โดยนำความรู้มาใช้ เป็นต้น ข้อควรระวังคือเด็กจะผลิตผลงานออกมาโดยไม่เลือกสถานที่ คุณพ่อคุณแม่จึงไม่ควรไปขัดขวาง

อย่างขัดขวาง ความอยากรู้ อยากลองของเด็ก ไม่ว่าเรื่องอะไรให้ทำไปก่อน เด็กๆจะมีลักษณะเฉพาะคือเบื่อง่ายแต่ก็ลืมง่ายให้ทำไป ถ้าเด็กเบื่ออยากทำอะไรก็หาอย่างอื่นทำต่อ จงอย่าลืมให้เด็กๆลองได้ทำเรื่องที่อยู่ตรงหน้าอย่างหลงใหลด้วย

การทำเรื่องเรียนแบบ active learning คือการเรียนแบบตัวเองสนใจและค่อยๆเรียนรู้ลงลึกไปเรื่อยๆ จะช่วยให้สมองจะพัฒนาได้ สุดท้าย เด็กที่ตัดสินใจด้วยตนเองได้ จะใช้ชีวิตได้ราบรื่นเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่

บทที่ 4 การเล่นที่จะทำให้ความสามารถของเด็กๆพัฒนาอย่างก้าวกระโดด

การเล่นอย่างอิสระจะทำให้ความสามารถของเด็กๆพัฒนาอย่างก้าวกระโดด การเล่นอะไรที่เป็นอิสระ อย่างเช่น ตัวต่อ Lego สมุดระบายสี การเล่นของเล่นเดิมๆแต่ให้พ่อแม่หรือเด็กปรับเปลี่ยนกฏการเล่นไปเรื่อยๆ การเล่นที่สัมผัสกับธรรมชาติไล่จับแมลง หมากล้อม หมากรุก สามารถเล่นได้อย่างอิสระ ต่างจากวิดิโอเกมที่ไม่อิสระมีกฏตายตัว การเล่นที่อิสระทำให้สมองหลั่งโดพามีนเยอะและมากขึ้น

การดูสารานุกรมภาพช่วยสังเกตความสนใจอยากรู้อยากเห็นของลูกได้

การเล่นซ่อนของและบทบาทสมมติ ต้องใช้ความสามารถของสมองระดับสูง อย่างเช่นการซ่อนของเด็กจะต้องคิดว่าซ่อนของอย่างไรเพื่อให้ผู้ใหญ่หาของไม่เจอ การเตรียมของโดยไม่มีการชี้นำใดๆ ให้เด็กเท่าที่จะทำได้ เมื่อวางของ เด็กจะเล่น สมมติเป็นอะไร ต้องใช้ความสามารถของสมองระดับสูงเช่นกัน

เล่นกับเด็กที่โตกว่าเล็กน้อยช่วยทำให้ความสามารถของเด็กๆพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เป็นการเพิ่มความทะเยอทะยานของเด็กๆในการทำสิ่งนั้นๆ เช่นเล่นกีฬาแข่งกับเด็กที่โตกว่าช่วยทำให้พัฒนาได้เร็วขึ้น

ให้สมองเด็กได้ "ผจญภัย" บ้าง โดยพาไปที่ใหม่ๆได้สัมผัสความหลากหลายของสังคมจะทำให้พัฒนาสมองได้อย่างก้าวกระโดดรวดเร็ว

ให้ดูการ์ตูน หนังเรื่องใหม่ๆเยอะๆ

จัดเตรียมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมและคอยสนับสนุน ด้วยความรัก ความเชื่อใจ และสายสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูกจะส่งผลต่อการพัฒนาสมองของลูกอย่างมาก

บทที่ 5 สิ่งที่พ่อแม่จะช่วยให้ลูกพัฒนาได้อย่างก้าวกระโดด

  • การที่ไม่เปรียบเทียบกับเล็กคนอื่น ไปพัฒนา "สมบัติ" ที่ลูกมี
  • การที่ให้ลูกนั่งตัก ทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัย มีพื้นฐานความมั่นคง จึงพร้อมที่จะเรียนรู้พัฒนาสมองและมองสิ่งรอบๆตัว
  • การที่สัมผัสลูกส่งผลดีต่อสมอง ทางทฤษฎีจึงควรกอดลูกไว้กับอกข้างซ้าย ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ลูกได้ยินเสียงหัวใจพ่อแม่ได้ดีที่สุด
  • การที่สายตาลูกมองโลกด้านนอกเป็นสิ่งดี พ่อแม่ไม่จำเป็นต้องหันหน้าเข้าหาลูกตลอดเวลา แค่คอยมองและสนับสนุนลูกอยู่ด้านหลังก็เพียงพอ
  • การที่ทำให้บ้านรกบ้าง จำเป็นต่อการพัฒนาสมอง เพราะลูกจะสามารถเล่นและมีพฤติกรรมใหม่จากการเปลี่ยนแปลงได้
  • การที่อย่าขัดขวางคำว่า "ทำไม" ของเด็ก ให้ตอบด้วยความเต็มใจ
  • การที่ "ไม่ขัดขวาง" ลูกในการอยากลองทำของลูก อย่าห้ามลูกทำโน่นนี่
  • การเขียนบันทึกการเจริญเติบโตของลูกต่อวัน ซึ่งจะช่วยให้เห็นพัฒนาการ ช่วยจัดการเรื่องสุขภาพ เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง ช่วยส่งผลต่อการกระตุ้นกำลังใจของลูก คือเห็นว่าตนพัฒนาขึ้น และสุดท้ายจะพบเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของลูก
  • การสร้างนิสัยการนอนโดยให้เด็กปรับเวลาให้ถูกต้องตามวงจรชีวิตเอง ปรับสภาพแวดล้อมให้นอนได้ดี นอนให้พอ ถ้านอนน้อยก็ไปเพิ่มวันถัดไป ให้นอนให้พอก็พอ
  • การให้เด็กทำเรื่องที่ชอบอย่างเต็มที่ ให้เด็กๆสนุกที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
  • การทำเรื่องไม่มีประโยชน์ก็เป็นโอกาสในการพัฒนาสมอง
  • การที่แม่อารมณ์ดีลูกจะฉลาด เวลาพูดคุยกับลูกให้พ่อแม่ยิ้มแย้มอยู่เสมอ ลูกจะยิ้มไปด้วย ลูกจะสบายใจพร้อมในการเรียนรู้ สำหรับเด็กๆการแสดงออกที่ดูเกินจริงคือการแสดงออกในระดับที่พอดี เพราะฉะนั้นเวลายิ้มก็ควรจะยิ้มเยอะๆกว้างๆ :)

หากมีรอยยิ้มเสมอ การเลี้ยงลูกจะราบรื่น

จบสรุปและบทส่งท้าย

ตามสถิติแล้ว ไอคิว และ พรสวรรค์ที่มีมาแต่กำเนิดนั้น 50% มาจากยีนของพ่อแม่ มีอีกตั้ง 50% ที่พ่อแม่สามารถทำให้ลูกพัฒนาสมองเพิ่มขึ้นได้ เด็กแต่ละคนมีเส้นทางการเป็นอัจริยะความถนัดไม่เหมือนกัน วิธีเรียนและพัฒนาไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นเคล็ดลับหรือสิ่งที่ได้เรียนรู้จากหนังสือเล่มนี้เราสามารถนำไปปรับใช้ได้ครับ

ขอให้เลี้ยงลูกอย่างมีความสุข :) :)

ใครสนใจหนังสือสามารถสั่งซื้อได้จากลิ้งค์นี้ครับ https://s.shopee.co.th/2fvZMUIm6D

Previous Post